วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ฤกษ์กำเนิดนาม ความหมายและฤกษ์ที่เหมาะสม ความเชื่อในเรื่องฤกษ์งามยามดี


1. ทลิทโทฤกษ์
   ได้แก่ฤกษ์ที่ 1 , 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ

2. มหัทธโนฤกษ์   ได้แก่ฤกษ์ที่ 2 , 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

3. โจโรฤกษ์  ได้แก่ฤกษ์ที่ 3 , 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์" คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล

4. ภูมิปาโลฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์

5. เทศาตรีฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์" หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์

6. เทวีฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ

7. เพชฌฆาตฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 7 , 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก" คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)

8. ราชาฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 8 , 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา

9. สมโณฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 9 , 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์" จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต

  ฤกษ์กำเนิดนามที่เหมาะสมในการใช้  คือ ราชาฤกษ์ มหัทโนฤกษ์ เทวีฤกษ์ ภูมิปาโลฤกษ์

 ฤกษ์ที่ไม่เหมาะสมไม่ควรใช้ คือ เพชรฆาตฤกษ์ สมโณฤกษ์ เทศาตรีฤกษ์ ทลิทโทฤกษ์ และโจโรฤกษ์

           การจัดหาฤกษ์เสริมชะตาเฉพาะบุคคลนั้น ต้องใช้เวลาและสมาธิในการจัดหาอย่างมาก เนื่องจากฤกษ์ที่ให้นั้น ต้องเชื่อมโยงดวงถึง 3 ดวง ได้แก่ ดาวแกนนาม ดวงเจ้าชะตา ดวงฤกษ์ นั้นหมายถึง การหาฤกษ์นั้นต้องรอบคอบและรัดกุมอย่างที่สุด ต้องทำให้ดวงทั้งสามนี้ เชื่อมโยงกัน หลักสำคัญคือ ต้องเลี่ยงพิษก่อนแล้วจึงเสริมมงคลได้

ทำไมต้องเป็นฤกษ์เสริมชะตาเฉพาะบุคคล

เนื่องจากเราเกิดมาในวัน เดือน ปี เวลา จังหวัด ที่ต่างกัน (สำหรับผู้ไม่รู้เวลาเกิด สามารถใช้โหราศาสตร์จักรราศีแทนได้) ดวงชะตาแต่ละคนจึง ไม่เหมือนกัน จุดเด่นจุดด้อยย่อมต่างกัน การวางฤกษ์นั้นจึงต้องอิงดวงชะตาวางลัคนาให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ดวงฤกษ์ (ช่วงเวลาที่กำเนิดนาม) ส่งเสริม "ดาวแกนนาม" และ "ดวงชะตา" ของผู้เปลี่ยนนามอย่างเต็มที่นั้นเอง

หลักการหาฤกษ์

หลักการหาฤกษ์ต้องประกอบดังนี้

1. ดวงเจ้าชะตา ผู้ทำการเปลี่ยนนาม เราต้องนำดวงเจ้าชะตามาวางลัคนาเพื่อวิเคราะห์หาฤกษ์จากฤกษ์ใหญ่ลงมาถึงฤกษ์ เฉพาะบุคคล

2.  ดาวแกนนาม เราจะใช้ดาวแกนนามเพื่อวิเคราะห์ฤกษ์ที่ส่งเสริมดาวแกนนามให้มีกำลัง ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่า ดาวแกนนามไม่เพียงสำคัญต่อนามมงคลเท่านั้น ยังสำคัญต่อฤกษ์ที่ใช้เปลี่ยนอีกด้วย

3. ดวงฤกษ์ เมื่อได้รับฤกษ์จาก ข้อ 1 และ 2 แล้ว จึงจัดหาวางดวงฤกษ์ที่ปลอดภัยและส่งเสริมมงคลต่อไป
การให้ฤกษ์เสริมชะตารายบุคคลจะประกอบด้วย

1.   ลักษณะฤกษ์ต้องเป็น "เฉพาะบุคคล"

2.   ฤกษ์ที่ได้รับ ต้องเป็น "ช่วงเวลา" ไม่ใช่เป็นวันที่ทั้งวัน

3.   ช่วงเวลาฤกษ์ จะต้อง "ไม่เกิน 1 ชม." เพราะฤกษ์ในแต่ล่ะวันจะมีช่วงเวลาฤกษ์จำกัด ไม่เกิน 1 ชม.

4.   ต้องให้เฉพาะ "ฤกษ์มงคล" เท่านั้น ได้แก่ มหัทโนฤกษ์ ราชาฤกษ์ เทวีฤกษ์ ภูมิปาโลฤกษ์ เท่านั้น

5.   ฤกษ์เสริมชะตานั้น จะต้องคำนวณในเวลาที่ไม่เกิน 1 - 2 เดือน เนื่องจากดวงฤกษ์ต้องปรับให้สอดคล้องกับดวงชะตาในระยะเวลา ที่ใกล้ที่สุด ไม่ควรให้ฤกษ์ที่ไกลเกินกว่า 3 เดือน

** หากไม่ครบทั้ง 5 ข้อดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ไม่เหมาะสม

  เหตุที่ต้องเน้นเรื่องฤกษ์

หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่อง การเปลี่ยนนามแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยน หรือ เปลี่ยนนามแล้วแย่ลง หรือ เปลี่ยนนามแล้วดีขึ้นแต่รู้สึกว่าดีไม่เต็มที่ คือดีไม่สุด นั้นก็เพราะสาเหตุสำคัญนอกจากตัวนาม ที่อาจไม่ใช่นามมงคลที่ดีเลิศแล้ว
           สาเหตุสำคัญอีกประการคือ "ฤกษ์ที่ทำการเปลี่ยนนาม" นั้นเอง เมื่อใช้ฤกษ์ผิด โดยความไม่รู้หรือไม่ใส่ใจก็ดี การเปลี่ยนนามก็หมายถึงการได้กำเนิดนามใหม่ ตัวตนใหม่ของเรา เวลาที่เปลี่ยนนั้นก็จะกลายเป็น "ดวงกำเนิดนาม" ของ เรา ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าดวงกำเนิดนามเสีย ก็เหมือนคน ที่เกิดมาภายใต้ดวงดาวในตำแหน่งที่เสีย ย่อมจะต้องบกพร่อง พิการ หรือหมดสภาพไปไม่มากก็น้อย ส่วนจะหนักเพียงไหนนั้นก็ ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่เปลี่ยนนามนั้นเอง ดังนั้น หากท่านผู้อ่าน ได้รับทราบข้อมูลนี้แล้ว ก็คงพอจะทราบถึงความสำคัญของฤกษ์ เปลี่ยนนาม ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่านามมงคลนั้นทีเดียว

           ** สำหรับท่านที่ขอรับนามมงคล ท่านจะได้รับฤกษ์เสริมชะตาและเสริมนามมงคลได้ฟรี (เฉพาะกรณีที่ท่านทำการชำระค่าครูภายใน 3 วันนับ ตั้งแต่วันที่กรอกแบบฟอร์มขอรับนามมงคล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Web Hosting