วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

ฤกษ์กำเนิดนาม ความหมายและฤกษ์ที่เหมาะสม ความเชื่อในเรื่องฤกษ์งามยามดี


1. ทลิทโทฤกษ์
   ได้แก่ฤกษ์ที่ 1 , 10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า ผู้ขอ

2. มหัทธโนฤกษ์   ได้แก่ฤกษ์ที่ 2 , 11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น "บูรณะฤกษ์"

3. โจโรฤกษ์  ได้แก่ฤกษ์ที่ 3 , 12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้ทำลายล้าง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น "ฉินทฤกษ์" คือ ฤกษ์ขาดแตก โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมาก ไม่ควรให้ฤกษ์มงคล

4. ภูมิปาโลฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 4 , 13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์

5. เทศาตรีฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 5 , 14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า ข้ามท้องถิ่น หญิงแพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราเรียกว่า "เวสิโยฤกษ์" หมายถึงฤกษ์พ่อค้า-แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ปลายราศีหนึ่ง และ ต้นราศีหนึ่ง แห่งละ 2 บาทฤกษ์ คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน , กันย์กับตุลย์ และ มกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ตินฤกษ์

6. เทวีฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 6 , 15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และ การสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ

7. เพชฌฆาตฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 7 , 16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน และ ตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า "ตรินิเอก" คืออยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็น ฉันทฤกษ์ (ฤกษ์แตกขาด)

8. ราชาฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 8 , 17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา

9. สมโณฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 9 , 18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า (สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี เรียกว่า "จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์" จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต

  ฤกษ์กำเนิดนามที่เหมาะสมในการใช้  คือ ราชาฤกษ์ มหัทโนฤกษ์ เทวีฤกษ์ ภูมิปาโลฤกษ์

 ฤกษ์ที่ไม่เหมาะสมไม่ควรใช้ คือ เพชรฆาตฤกษ์ สมโณฤกษ์ เทศาตรีฤกษ์ ทลิทโทฤกษ์ และโจโรฤกษ์

           การจัดหาฤกษ์เสริมชะตาเฉพาะบุคคลนั้น ต้องใช้เวลาและสมาธิในการจัดหาอย่างมาก เนื่องจากฤกษ์ที่ให้นั้น ต้องเชื่อมโยงดวงถึง 3 ดวง ได้แก่ ดาวแกนนาม ดวงเจ้าชะตา ดวงฤกษ์ นั้นหมายถึง การหาฤกษ์นั้นต้องรอบคอบและรัดกุมอย่างที่สุด ต้องทำให้ดวงทั้งสามนี้ เชื่อมโยงกัน หลักสำคัญคือ ต้องเลี่ยงพิษก่อนแล้วจึงเสริมมงคลได้

ทำไมต้องเป็นฤกษ์เสริมชะตาเฉพาะบุคคล

เนื่องจากเราเกิดมาในวัน เดือน ปี เวลา จังหวัด ที่ต่างกัน (สำหรับผู้ไม่รู้เวลาเกิด สามารถใช้โหราศาสตร์จักรราศีแทนได้) ดวงชะตาแต่ละคนจึง ไม่เหมือนกัน จุดเด่นจุดด้อยย่อมต่างกัน การวางฤกษ์นั้นจึงต้องอิงดวงชะตาวางลัคนาให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ดวงฤกษ์ (ช่วงเวลาที่กำเนิดนาม) ส่งเสริม "ดาวแกนนาม" และ "ดวงชะตา" ของผู้เปลี่ยนนามอย่างเต็มที่นั้นเอง

หลักการหาฤกษ์

หลักการหาฤกษ์ต้องประกอบดังนี้

1. ดวงเจ้าชะตา ผู้ทำการเปลี่ยนนาม เราต้องนำดวงเจ้าชะตามาวางลัคนาเพื่อวิเคราะห์หาฤกษ์จากฤกษ์ใหญ่ลงมาถึงฤกษ์ เฉพาะบุคคล

2.  ดาวแกนนาม เราจะใช้ดาวแกนนามเพื่อวิเคราะห์ฤกษ์ที่ส่งเสริมดาวแกนนามให้มีกำลัง ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก จะเห็นได้ว่า ดาวแกนนามไม่เพียงสำคัญต่อนามมงคลเท่านั้น ยังสำคัญต่อฤกษ์ที่ใช้เปลี่ยนอีกด้วย

3. ดวงฤกษ์ เมื่อได้รับฤกษ์จาก ข้อ 1 และ 2 แล้ว จึงจัดหาวางดวงฤกษ์ที่ปลอดภัยและส่งเสริมมงคลต่อไป
การให้ฤกษ์เสริมชะตารายบุคคลจะประกอบด้วย

1.   ลักษณะฤกษ์ต้องเป็น "เฉพาะบุคคล"

2.   ฤกษ์ที่ได้รับ ต้องเป็น "ช่วงเวลา" ไม่ใช่เป็นวันที่ทั้งวัน

3.   ช่วงเวลาฤกษ์ จะต้อง "ไม่เกิน 1 ชม." เพราะฤกษ์ในแต่ล่ะวันจะมีช่วงเวลาฤกษ์จำกัด ไม่เกิน 1 ชม.

4.   ต้องให้เฉพาะ "ฤกษ์มงคล" เท่านั้น ได้แก่ มหัทโนฤกษ์ ราชาฤกษ์ เทวีฤกษ์ ภูมิปาโลฤกษ์ เท่านั้น

5.   ฤกษ์เสริมชะตานั้น จะต้องคำนวณในเวลาที่ไม่เกิน 1 - 2 เดือน เนื่องจากดวงฤกษ์ต้องปรับให้สอดคล้องกับดวงชะตาในระยะเวลา ที่ใกล้ที่สุด ไม่ควรให้ฤกษ์ที่ไกลเกินกว่า 3 เดือน

** หากไม่ครบทั้ง 5 ข้อดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นฤกษ์ที่ไม่เหมาะสม

  เหตุที่ต้องเน้นเรื่องฤกษ์

หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่อง การเปลี่ยนนามแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยน หรือ เปลี่ยนนามแล้วแย่ลง หรือ เปลี่ยนนามแล้วดีขึ้นแต่รู้สึกว่าดีไม่เต็มที่ คือดีไม่สุด นั้นก็เพราะสาเหตุสำคัญนอกจากตัวนาม ที่อาจไม่ใช่นามมงคลที่ดีเลิศแล้ว
           สาเหตุสำคัญอีกประการคือ "ฤกษ์ที่ทำการเปลี่ยนนาม" นั้นเอง เมื่อใช้ฤกษ์ผิด โดยความไม่รู้หรือไม่ใส่ใจก็ดี การเปลี่ยนนามก็หมายถึงการได้กำเนิดนามใหม่ ตัวตนใหม่ของเรา เวลาที่เปลี่ยนนั้นก็จะกลายเป็น "ดวงกำเนิดนาม" ของ เรา ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าดวงกำเนิดนามเสีย ก็เหมือนคน ที่เกิดมาภายใต้ดวงดาวในตำแหน่งที่เสีย ย่อมจะต้องบกพร่อง พิการ หรือหมดสภาพไปไม่มากก็น้อย ส่วนจะหนักเพียงไหนนั้นก็ ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาที่เปลี่ยนนามนั้นเอง ดังนั้น หากท่านผู้อ่าน ได้รับทราบข้อมูลนี้แล้ว ก็คงพอจะทราบถึงความสำคัญของฤกษ์ เปลี่ยนนาม ซึ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่านามมงคลนั้นทีเดียว

           ** สำหรับท่านที่ขอรับนามมงคล ท่านจะได้รับฤกษ์เสริมชะตาและเสริมนามมงคลได้ฟรี (เฉพาะกรณีที่ท่านทำการชำระค่าครูภายใน 3 วันนับ ตั้งแต่วันที่กรอกแบบฟอร์มขอรับนามมงคล)

สวัสดิรักษา

สวัสดิรักษา
คำกลอนเรื่องสวัสดิ์รักษานี้ สุนทรภู่แต่งขึ้นถวายพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งประสูติจากเจ้าฟ้ากุณฑลทิพย์ยวดี เนื้อเรื่องเป็นหลักความเชื่องของคนไทยสมัยก่อน ทั้งหลักทางพระพุทธศาสนาและหลักทางศาสนาพราหมณ์ สะท้อนให้เห็นว่าวิถีชีวิตอย่างไทยส่วนใหญ่ ซึ่ง พุทธ กับ ไสย และการดูดวงชะตาจะไปด้วยกัน สวัสดิรักษาจึงเป็นสุภาษิตโบราณที่นิยมสั่งสอนสืบต่อกันมา เพื่อให้ชนรุ่นหลังปฏิบัติ เพื่อความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ซึ่งชวนให้สังคมของมนุษย์ มีความเป็นระเบียบ งดงาม เพราะการได้รู้และทำในสิ่งอันควร ย่อมเป็นมงคล แก่ตนและสังคม
สวัสดิรักษาคำกลอน
สุนทรทำคำสวัสดิรักษา
ถวายพระหน่อบพิตรอิศรา
ตามพระบาลีเฉลิมให้เพิ่มพูน
เป็นของคู่ผู้มีมีอิสริยยศ
จะปรากฏเกิดลาภไม่สาบสูญ
สืบอายุสุริย์วงศ์พงศ์ประยูร
ให้เพิ่มพูนภิญโญเดโชชัย
อย่าลืมหลงจงอุตส่าห์รักษาสิริ
ตามคติโบราณท่านขานไข
ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย
ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา
ผินพักตร์สู่บูรพ์ทิศแลทักษิณ
เสกวารินด้วยพระธรรมคาถา
ที่นับถือคือพระไตรสรณา
ถ้วนสามคราจึงชำระสระพระพักตร์
แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน
จะถาวรพูนเกิดประเสริฐศักดิ์
ด้วยราศีที่ชะลอนรลักษณ์
อยู่พระพักตร์แต่ทิวาเวลากาล
ยามกลางวันนั้นว่าพระราศี
สถิตที่วรองค์ให้สรงสนาน
พระอุระประสุคนธ์วิมลมาลย์
จะสำราญโรคาไม่ราคี
ครั้นพลบค่ำคล้ำฟ้าสุธาวาส
ฝ่ายเบื้องบาทซ้ายขวาเป็นราศี
จงรดน้ำชำระซึ่งราคี
ห้ามสตรีอย่าให้พาดบาทยุคล
เสวยนั้นผันพระพักตร์ไปบูรพ์ทิศ
เจริญฤทธิ์ชันษาสถาผล
แม้นผินพักตร์ทักษิณถิ่นมณฑล
ไม่ขาดคนรักใคร่เวียนไปมา
ทิศประจิมอิ่มเอมเกษมสุข
บรรเท่าทุกข์ปรากฏด้วยยศถา
แต่ทิศเหนือเหลือร้ายวายชีวา
ทั้งชันษาทรุดน้อยถอยทุกปี
อนึ่งนั่งบังคนอย่ายลต่ำ
อย่าบ้วนน้ำลายพาเสียราศี
ผินพักตร์สู่อุดรประจิมดี
ไม่ต้องผีคุณไสยพ้นภัยพาล
แล้วสรงน้ำชำระพระนลาฏ
จึงผุดผาดผิวพรรณในสัณฐาน
เสด็จไหนให้สรงชลธาร
เป็นฤกษ์พารลูบไล้แล้วไคลคลา
อนึ่งพระองค์ทรงเจริญเพลินถนอม
อย่าให้หม่อมห้ามหลับทับหัตถา
ภิรมย์รสอตส่าห์สรงพระคงคา
เจริญราศีสวัสดิ์ขจัดภัย
อนึ่งวันชำระสระพระเกล้า
อังคารเสาร์สิ้นวิบัติปัดไถม
ตัดเล็บวันพุธจันทร์กันจังไร
เรียนสิ่งใดวันพฤหัสสวัสดี
อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ
ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี
เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว
จะยืนยาวชันษาสถาผล
อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน
เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี
เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด
กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี
วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม
วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ
แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม
ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย
อนึ่งว่าถ้าจะลงสรงสนาน
ทุกห้วยธารเถื่อนถ้ำแลน้ำไหล
พระพักตร์นั้นผันล่องตามคลองไป
ห้ามมิให้ถ่ายอุจจาร์ปัสสาวะ
อย่าผินหน้าฝ่าฝืนขึ้นเหนือน้ำ
จะต้องรำเพรำพัดซัดมาปะ
เมื่อสรงน้ำสำเร็จเสร็จธุระ
คำนับพระคงคาเป็นอาจิณ
อนึ่งวิชาอาคมถมถนำ
เวลาค่ำควรคิดเป็นนิจศีล
จึงศักดิ์สิทธิ์ฤทธิรณพ้นไพริน
ให้เพิ่มภิญโญยศปรากฏไป
อนึ่งสุนัขมักเฝ้าแต่เห่าหอน
อย่าขู่ค่อนด่าว่าอัชฌาสัย
เสียสง่าราศีมักมีภัย
คนมิได้ยำเยงเกรงวาจา
อนึ่งเขฬะอย่าถ่มเมื่อลมพัด
ไปถูกสัตว์เสื่อมมนต์ดลคาถา
อนึ่งพบปะพระสงฆ์ทรงศีลา
ไม่วันทาถอยถดทั้งยศทรัพย์
อนึ่งอย่าว่าแดดแลลมฝน
อย่ากังวลเร่งวันให้พลันดับ
เมื่อเช้าตรู่สุริยงจะลงลับ
จงคำนับสุริยันพระจันทร
อนึ่งเล่าเข้าที่ศรีไสยาสน์
อย่าประมาทหมั่นคำนับลงกับหมอน
เป็นนิรันดร์สรรเสริญเจริญพร
คุณบิดรมารดาคุณอาจารย์
อนึ่งผ้าทรงจงนุ่งเหน็บข้างขวา
กันเขี้ยวงาจระเข้เดรัจฉาน
อนึ่งอย่าไปใต้ช่องคลองตะพาน
อย่าลอดร้านฟักแฟงแรงราคี
ทั้งไม้ลำค้ำเรือนแลเขื่อนคอก
ใครลอดออกอัปลักษณ์เสียศักดิ์ศรี
ถึงฤทธิ์เดชเวทมนตร์ดลจะดี
ตัวอัปรีย์แปรกลับให้อัปรา
อนึ่งไปไหนได้พบอสภซาก
อย่าออกปากทักทายร้ายนักหนา
ให้สรงน้ำชำระพระพักตรา
ตามตำราแก้กันอันตราย
อนึ่งเครื่องผูกลูกสะกดตระกรุดคาด
เข้าไสยาสน์ยามหลับทับฉลาย
เครื่องอาวุธสุดห้ามอย่าข้ามกราย
อย่านอนซ้ายสตรีมักมีภัย
อนึ่งวันจันทร์คราสตรุษสารทสูรย์
วันเพ็ญบูรณ์พรรษาอัชฌาสัย
ทั้งวันเกิดเริดร้างให้ห่างไกล
ห้ามมิให้เสน่หาถอยอายุ
แม้นสตรีมีระดูอย่าอยู่ด้วย
ถ้ามิม้วยก็มักเสียจักขุ
มักเกิดมีฝีพองเป็นหนองพุ
ควรทำนุบำรุงองค์ให้จงดี
อนึ่งนั้นวันกำเนิดเกิดสวัสดิ์
อย่าฆ่าสัตว์เสียสง่าทั้งราศี
อายุน้อยถอยเลื่อนทุกเดือนปี
แล้วมักมีทุกข์โศกโรคโรคา
อนึ่งบรรทมถ้าลมคล่องทั้งสองฝ่าย
พระบาทซ้ายอย่าพาดพระบาทขวา
ข้างขวาคล่องต้องกลับทับซ้ายมา
เป็นมหามงคลเลิศประเสริฐนัก
อนึ่งว่าถ้าจะจรแลนอนนั่ง
สำเนียงดังโผงเผาะเกาะกุกกัก
คือคุณผีปิศาจอุบาทว์ยักษ์
ใครทายทักถูกฤทธิ์วิทยา
ขอพระองค์จงจำไว้สำเหนียก
ดังนี้เรียกเรื่องสวัสดิรักษา
สำหรับองค์พงศ์กษัตริย์ขัตติยา
ให้ผ่องผาสุกสวัสดิ์ขจัดภัย
บทโบราณท่านทำเป็นคำฉันท์
แต่คนนั้นมิใคร่แจ้งแถลงไข
จึงกล่าวกลับซับซ้อนเป็นกลอนไว้
หวังจะให้เจนจำได้ชำนาญ
สนองคุณมุลิกาสามิภักดิ์
ให้สูงศักดิ์สืบสมบัติพัสถาน
แม้นผิดเพี้ยนเปลี่ยนเรื่องเบื้องโบราณ
ขอประทานอภัยโทษได้โปรดเอย ฯ

ความเชื่อในเรื่องฤกษ์งามยามดี

ความเชื่อในเรื่องฤกษ์งามยามดี
# ชีวิตจะโชคดี หรือร้าย มาดูกันได้ใน... หลักแห่งการดูฤกษ์งามยามดี



ความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามดีของคนไทย มีมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตายาย
ในการจะดำเนินการงานสิ่งใด จะต้องมีการดูฤกษ์ก่อนทุกครั้งไป คำว่า “ฤกษ์”
แปลว่า การมองดู การตรวจการพิจารณาดูคราวที่เหมาะ เวลาที่เหมาะ
จังหวะที่เหมาะแก่การประกอบการงานที่เป็นมงคลนั้น ๆ หมายความว่า
ก่อนที่คนเราจะประกอบการงาน ที่เป็นมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง
สมควรจะต้องพินิจพิจารณา เลือกหากำหนดวันเวล
าที่เหมาะแก่การประกอบพิธีมงคลนั้นๆ โดยไม่รีบด่วนจนเกินไป
จนกระทั่งตระเตรียมอะไรไม่ทัน และโดยไม่ล่าช้าจนเกินไป
จน กระทั่งเกิดความเบื่อหน่าย ที่จะเฝ้ารอคอยวันเวลาที่เป็นฤกษ์ดี


ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2546 ให้คำนิยามไว้ว่า “การกำหนดวัน
ยาม ฤกษ์ ราศี ดิถี ของแต่ละปีเป็นธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ หมายถึง
การกำหนดว่า วันไหน ช่วงเวลาใดเป็นเวลาที่ดี และร้ายสำหรับกระทำการมงคลต่าง
ๆ การพินิจพิจารณาตรวจดูทางได้ทางเสีย การตรวจดูฤกษ์ การหาฤกษ์
หรือการดูฤกษ์เมื่อพิจารณาดูวัน เวลา สถานที่ บุคคล
และสิ่งของเครื่องประกอบการทั้งหลาย โดยถี่ถ้วนว่าไม่มีอะไรขาดตกบกพร่อง
ไม่มีอะไรขัดข้อง มีสมบูรณ์ดีทุกประการ อย่างนี้แหละเรียกว่า
“ฤกษ์งามยามดี” แต่ถ้าเห็นว่ามีอะไรบางอย่าง
หรือหลายอย่างยังไม่พร้อมเรียกว่า “ฤกษ์ยังไม่งาม ยามยังไม่ดี” หรือ
“ฤกษ์ ไม่ดี”


ระเบียบปฏิบัติการหาฤกษ์งามยามดีแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ


- ฤกษ์งามยามดีทางคดีโลก ในทางคดีโลก
สังคมมนุษย์ส่วนมากนิยมปฏิบัติสืบกันมาว่าวัน เวลาใดประกอบด้วยส่วนดี คือ
เป็นเดช เป็นศรี เป็นมูละ เป็นอุตสาหะ เป็นมนตรี เป็นราชาฤกษ์ เป็นเทวีฤกษ์
เป็นมหัทธโนฤกษ์ เป็นต้น ส่วนดีเหล่านี้มีมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
และประกอบด้วยส่วนเสีย คือ เป็นอุบาทว์เป็นโลกาวินาศ เป็นกาลกรรณี เป็นอริ
เป็นมรณะ เป็นวินาศ เป็นต้น เหล่านี้ให้มีน้อยที่สุด
เท่าที่จะหลีกเลี่ยงได้ พร้อมทั้งท่านอาจารย์ผู้ให้ฤกษ์นั้น
ก็เป็นผู้ทรงวิทยาคุณทางโหราศาสตร์
มีชื่อเสียงปรากฏเป็นที่ยอมรับนับถือของมหาชนทั่วไปในท้องถิ่นนั้น
วันเวลาฤกษ์เช่นนี้แหละ สังคมมนุษย์เรานิยมยอมรับนับถือ
เชื่อ ได้ด้วยความแน่ใจว่า “เป็นฤกษ์งามยามดี” สำหรับประกอบพิธีมงคลนั้น ๆ


- ฤกษ์งามยามดีทางคดีธรรม ในทางคดีธรรม คือ ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนพุทธบริษัทเรื่องฤกษ์
เรื่อง งามยามดีตามความเป็นจริงไว้ในสุปุพพัณหสูตร โดยมีใจความว่า


“คนเราประพฤติกายสุจริต (คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)
ประพฤติวจีสุจริต (คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบคาย
ไม่พูดเพ้อเจ้อเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระประโยชน์) ประพฤติมโนสุจริต
(คือไม่โลภอยากได้ของเขาในทางทุจริต ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบ) กล่าวคือ กระทำความดีทางกาย ทางวาจา
และทางใจ ในเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น เวลาค่ำคืน หรือเวลาใดก็ตาม
เวลา นั้นแหละชื่อว่า “เป็นฤกษ์งามยามดี” สำหรับผู้ทำความดีนั้น”


- รวมความว่า ฤกษ์งามยามดีนั้น ในทางคดีโลกนิยม
ยึดถือวันเวลาที่ดีเป็นสำคัญ ส่วนในทางคดีธรรม คือทางพระพุทธศาสนานิยมยึด
ถือ การทำความดีเป็นสำคัญ ที่เป็นเหตุทำให้คนเรามีความเจริญรุ่งเรือง


สำหรับในทางโหราศาสตร์ได้กำหนดฤกษ์ไว้ 9 ฤกษ์ ได้แก่




1. ทลิทโทฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 1,10 และ 19 เรียกว่า ทลิทโทฤกษ์ แปลว่า
ผู้มักน้อย ผู้เข็ญใจ ผู้ขอ ผู้ต้องเหน็ดเหนื่อย ผู้อดทน
ผู้ที่ต้องรับผิดชอบสูง ฤกษ์นี้เป็นฤกษ์ของ “ชูชก”
มีพระอาทิตย์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น
“บูรณะฤกษ์” ที่เต็มโดยสมบูรณ์ คือฤกษ์ที่ไม่ขาดแยกแตกบาท
ฤกษ์ไปอยู่คนละราศี และเรียกว่า จัตตุรฤกษ์ หรือ ขันธฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การขอสิ่งต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นฤกษ์ของชูชก
จะทำการขอสิ่งใดก็ง่าย เช่น การขอหมั้น ขอแต่งงาน ทวงหนี้ กู้ยืม ร้องทุกข์
การทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นสงสารกรุณา เปิดร้านของชำ ของเก่าชำรุด
สมัคร งาน ทำการใด ๆ ที่ริเริ่มใหม่


2. มหัทธโนฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 2,11 และ 20 เรียกว่า มหัทธโนฤกษ์ แปลว่า
คนมั่งมี ผู้รุ่งเรือง เศรษฐี มีพระจันทร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4
อยู่ในราศีเดียวกันเป็น “บูรณะฤกษ์” เป็นฤกษ์ที่เหมาะสมการขอสิ่ง ต่าง ๆ
เช่น ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน ปลูกสร้างอาคาร ธุรกิจการเงิน การค้าอุตสาหกรรม
เปิด ห้างร้าน ลาสิกขาบท สะเดาะเคราะห์ และ สารพัดงานมงคล


3. โจโรฤกษ์ ได้แก่ฤกษ์ที่ 3,12 และ 21 เรียกว่า โจโรฤกษ์ แปลว่า โจร
ผู้ปล้น ผู้ลักขโมย นักเลง ผู้ใช้กำลัง ผู้กล้าหาญมีอำนาจ ผู้ว่องไว
มีพระอังคารเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 ไม่รวมอยู่ในราศีเดียวกัน
คาบเกี่ยวอยู่ 2 ราศีเป็น “ฉินทฤกษ์” คือ ฤกษ์ขาดแตก
โดยเฉพาะบาทแรกของต้นราศีนั้น เป็นฤกษ์บาทที่ร้ายแรงมากกว่าบาทอื่น
เป็นนวางค์ที่ร้ายแรงมากไม่ควรให้ฤกษ์มงคล เป็นฤกษ์ที่เหมาะสม
คนโบราณใช้ในการปล้นค่าย จู่โจมโดยฉับพลัน ข่มขวัญ บีบบังคับ ทำการปราบปราม
การแข่งขันช่วงชิง การแย่งอำนาจ และผลประโยชน์ งานเสี่ยง ๆ ในระยะสั้น ๆ
การปฏิวัติ งานของบุคคลในเครื่องแบบใช้กำลัง




4. ภูมิปาโลฤกษ์ ได้แก่ กฤษ์ที่ 4,13 และ 22 เรียกว่า ภูมิปาโลฤกษ์ แปลว่า
ผู้รักษาแผ่นดิน มีพระพุทธเป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4
อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ การมงคลต่าง ๆ
งานที่ต้องการความมั่นคงถาวร งานเกี่ยวกับที่ดิน การเกษตร การเช่าซื้อ
ก่อสร้าง ปลูกเรือน ยกศาลพระภูมิแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ลาสิกขาบท
เปิดอาคารห้างร้าน และสารพัดงานมงคลทั้งปวง




5. เทศาตรีฤกษ์ ได้แก่ กฤษ์ที่ 5,14 และ 23 เรียกว่า เทศาตรีฤกษ์ แปลว่า
ข้ามท้องถิ่น หญิงเพศยา ผู้ท่องเที่ยว บางคราวเรียกว่า “เวสิโยฤกษ์”
หมายถึง ฤกษ์พ่อค้า – แม่ค้า มีพระเสาร์เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4
อยู่ปลายราศีหนึ่ง และต้นราศีหนึ่งแห่งละ 2 บาทฤกษ์
คือคาบเกี่ยวอยู่ราศีละครึ่ง คือในราศี พฤษภกับเมถุน, กันย์กับตุลย์
และมกรกับกุมภ์ เป็นฤกษ์อกแตก หรือ พินทุฤกษ์ หรือ ดินฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานการติดต่อการค้าระหว่างถิ่น
เกี่ยวกับความสนุกสนาน ชักชวนคนให้เข้าและออกเป็นจำนวนมาก เปิดโรงมหรสพ
สถานเริงรมย์ ซ่องโสเภณี โรงแรม โรงหนัง ตลาดและศูนย์การค้า
การ ประกอบอาชีพนอกสถานที่ อาชีพเร่ร่อน อาชีพที่ต้องย้ายที่อยู่เสมอ




6. เทวีฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 6,15 และ 24 เรียกว่า เทวีฤกษ์ แปลว่า นางพญา
ความงามหรูหรา ความมีเสน่ห์ โชคลาภ และการสมความปรารถนา มีพระพฤหัสฯ
เป็นผู้รักษาฤกษ์ บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกันเป็น บูรณะฤกษ์
เป็นฤกษ์ที่มุ่งให้เกิดโชคลาภ เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ
การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ การหมั้นหมายและสมรส
การส่งตัวเจ้าสาวและเข้าห้องหอ การทำกิจการที่ต้องการชื่อเสียงและมีเสน่ห์
งานมีเกียรติ งานเชิงศิลปะ ตกแต่งชั้นสูง เปิดร้านค้าอัญมณีเครื่องประดับ
ร้านเสริมสวย ตัดเย็บเสื้อผ้า การประชาสัมพันธ์ ลาสิขาบท ขึ้นบ้านใหม่
ขอ ความรัก งานเพื่อความสงบเรียบร้อย และสารพัดงานมงคลทั้งปวง




7. เพชฌฆาตฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 7,16 และ 25 เรียกว่า เพชฌฆาตฤกษ์ แปลว่า
ผู้ทำหน้าที่ฆ่า มีพระราหูเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4 แตกขาดกัน
และตรงข้ามกับ โจโรฤกษ์ เรียกว่า “ตรินิเอก” คือ อยู่ปลายราศี 3 ฤกษ์บาท
และ ต้นราศี 1 ฤกษ์บาท ไม่ควรให้ฤกษ์ในการมงคลเลย เป็นฉันทฤกษ์
(ฤกษ์แตกขาด) เป็นฤกษ์ที่เหมาะสมสำหรับ การฟันผ่าอันตรายและอุปสรรค
ต่อสู้เสี่ยงภัยต่าง ๆ อาสางานใหญ่ ทำกิจปราบปรามศัตรู ตัดสินคดีความ
งานที่ใช้การตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ประกอบพิธีไสยศาสตร์
ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ลงเลขยันต์ สร้างวัตถุมงคลแบบคงกระพันชาตรี
สร้างสิ่งสาธารณะกุศลสงเคราะห์ เปิดโรงพยาบาล การรักษาโรคเรื้อรังที่หายยาก
ๆ การยาตราทัพเจิมอาวุธยุทธภัณฑ์ สร้างโบสถ์วิหารการเปรียญ คล้ายกับ
โจ โรฤกษ์ แต่ฤกษ์นี้จะแรงกว่า


8. ราชาฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 8,17 และ 26 เรียกว่า ราชาฤกษ์ แปลว่า
ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา พระเจ้าแผ่นดิน มีพระศุกร์เป็นผู้รักษาฤกษ์
บาทฤกษ์ทั้ง 4 อยู่ในราศีเดียวกัน เรียกว่า บูรณะฤกษ์
เป็นฤกษ์เฉพาะกิจการของผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้นำกิจการขึ้นไปจนถึงพระราชา
เป็นฤกษ์ที่เหมาะสำหรับ งานราชพิธี งานราชการงานเมือง สร้างที่ประทับ
งานที่ต้องการชักจูงให้ผู้อื่นดำเนินตาม การเข้ารับตำแหน่งงาน
การแสวงหาชื่อเสียงเกียรติยศ การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่
งานมงคลสมรสที่หรูหรามีเกียรติ ลาสิขาบท การขึ้นบ้านใหม่ (สามัญชนควรเว้น
ถ้าหาฤกษ์ไม่ได้ก็พออนุโลมใช้ได้ เพื่อดวงชะตาและความเหมาะสม)
และงานมงคลทั้งปวง




9. สมโณฤกษ์ ได้แก่ ฤกษ์ที่ 9,18 และ 27 เรียกว่า สมโณฤกษ์ แปลว่า
(สงบเรียบร้อย นักบวช นักสอนศาสนา) มีพระเกตุเป็นผู้รักษาฤกษ์ ฤกษ์บาททั้ง 4
อยู่ปลายราศีเดียวกัน แต่บาทฤกษ์สุดท้ายนี้ เป็นนวางค์ขาดสุดราศีพอดี
เรียกว่า “จัตตุรฤกษ์” หรือ “ขันธฤกษ์”
จึงเป็นจุดที่มีผลเสียให้เกิดอันตรายต่างๆ ในการแข่งขัน
ใช้ได้เฉพาะกิจเกี่ยวกับความสงบความสุจริต เป็นฤกษ์ที่เหมาะสมสำหรับ
ทำพิธีกรรมทางศาสนา และทางนักบวช เช่น การทำขวัญนาค การอุปสมบท
หล่อพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เข้ารับการศึกษา และการกระทำทุกอย่าง
เพื่อความสงบร่มเย็นเป็นสุข สงเคราะห์ในฤกษ์นี้ได้ เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ทำบุญต่ออายุ




วิธี ปฏิบัติเกี่ยวกับฤกษ์ ตามหลักเหตุผลของฤกษ์งามยามดี




- ในพิธีมงคลต่าง ๆ เช่นงานมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
หรืองานพิธีเกี่ยวกับส่วนรวม ผู้จัดงานจะต้องถือฤกษ์งามยามดีเป็นสำคัญ
ถ้า ไม่ถือฤกษ์ทำตามชอบใจ หากเกิดความเสียหายอะไรขึ้นก็จะแก้ไขอะไรไม่ได้


- ถ้าเป็นงานส่วนตัวโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคนอื่นไม่ควรถือทางคดีโลก
แต่นิยมถือฤกษ์ทางคดีธรรม คือ นิยมถือฤกษ์ความสะดวกเป็นสำคัญ สะดวกใจ
สบาย ใจ เมื่อใดก็ทำเมื่อนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมัวรอคอยฤกษ์ยามวันเวลา


- การถือฤกษ์ทางคดีธรรมนั้น คือ การพินิจพิจารณาตรวจดูความพร้อมอย่างรอบคอบ
ก่อนที่จะดำเนินการงานทุกอย่าง เมื่อได้พิจารณาตรวจดูด้วยจิตทุกทิศแล้ว
ไม่ประสบพบเห็นความขาดตกบกพร่อง ความเสียหายโดยประการใดๆ แล้วแน่ใจได้ว่า
“นั้นแหละ” คือ “ฤกษ์งามยามดี” สำหรับตัวเราแล้ว
ซึ่ง ถูกต้องตรงตามคำสอนทางพุทธศาสนาทุกประการ


- สำหรับชาวพุทธทั้งหลาย นิยมเป็นผู้ตระหนักอยู่ในหลักเหตุผล
จะทำอะไรต้องทำอย่างมีเหตุผล
นิยมใช้สติปัญญาพินิจพิจารณาว่างานใดเกี่ยวเนื่องด้วยคนอื่น
งานใดเป็นเรื่องส่วนตัว แล้วประพฤติปฏิบัติตนตามสมควรแก่เหตุผล โดยเหมาะสม
ชนิดไม่ให้ขัดโลก ไม่ให้ฝืนธรรม แบบโลกก็ไม่ให้ช้ำ ธรรมก็ไม่ให้เสีย
บัว ก็ไม่ให้ช้ำ น้ำ (ใจ) ก็ไม่ให้ขุ่น


- เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็หวังได้แน่ว่า
จะมีความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว หาความเสื่อมเสียมิได้
และ เป็นการปฏิบัติเหมาะสมกับภาวะที่ตนเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง




การถือฤกษ์งามยามดีมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือเกิดความสบายใจในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
โดยไม่ต้องวิตกกังวลห่วงใย และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ข้อเสียคือบุคคลที่เชื่อมั่นฤกษ์งามยามดีมากเกินไป จะทำอะไรก็ต้องรอคอยฤกษ์
เมื่อถึงคราวเหมาะที่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะยังไม่ได้ฤกษ์
ผลประโยชน์ที่ควรได้ก็ไม่ได้ ทำให้เสียไปกับกาลเวลา บุคคลผู้ถือฤกษ์จัด
มัวแต่รอคอยฤกษ์ดีอยู่ มักจะทำอะไรไม่ทันเพื่อน
ดัง นั้นควรพิจารณาการดูฤกษ์ให้เหมาะสม จึงจะเรียกได้ว่า “ฤกษ์งามยามดี”


***เอกสารอ้างอิง หนังสือระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ โดยพระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมปนโน ป.ธ. 9 )




ขอ ขอบคุณข้อมูลข่าว : กฤษณา พันธุ์มวานิช กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

From : Fortune Stars

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทย เป็นอักษรโรมัน





ตามประกาศราชบัณฑิตยสถานเรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
ฉบับวันที่
11 มกราคม
พ.ศ.
2542 ได้กำหนดไว้
ดังนี้




หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้เป็นการถอดโดยวิธีถ่ายทอดเสียง
(
Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้ เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์
และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ =
chan, พระ = phra, แก้ว = kaeo



ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ


http://www.thaibabyname.com/gp/dot2.gif



พยัญชนะไทย


อักษรโรมัน


ตัวอย่าง


ตัวต้น


ตัวสะกด




k


k


กา = ka , นก =
nok


ข ฃ ค ฅ ฆ


kh


k


ขอ = kho , สุข
=
suk , โค = kho , ยุค = yuk
,
ฆ้อง = khong , เมฆ = mek




ng


ng


งาม = ngam , สงฆ์ = song


จ ฉ ช ฌ


ch


t


จีน = chin , อำนาจ = amnat , ฉิ่ง = ching , ชิน = chin , คช = khot
,
เฌอ = choe


ซ ทร(เสียง ซ) ศ ษ ส


s


t


ซา = sa , ก๊าซ
=
kat , ทราย = sai , าล = san , ทศ = thot
,
รักษา = raksa , กฤษณ์ = krit , สี = si , รส = rot




y


n


ญาติ = yat , ชาญ = chan


ฎ ฑ (เสียง ด) ด


d


t


ฎีกา = dika , กฎ = kot , บัณฑิต = bandit , ษัฑ = sat
,
ด้าย = dai , เป็ด = pet


ฏ ต


t


t


ปฏิมา = patima
,
ปรากฏ = prakot
,
ตา = ta , จิต
=
chit


ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ


th


t


ฐาน = than , รัฐ = rat , มณฑล = monthon , เฒ่า = thao , วัฒน์ = wat , ถ่าน = than , นาถ = nat , ทอง = thong , บท = bot
,
ธง = thong , อาวุธ = awut


ณ น


n


n


ประณีต = pranit
,
ปราณ = pran
,
น้อย = noi , จน = chon




b


p


ใบ = bai , กาบ = kap




p


p


ไป = pai , บาป = bap


ผ พ ภ


ph


p


ผา = pha , พงศ์
=
phong , ลัพธ์ = lap , สำเภา = samphao
,
ลาภ = lap


ฝ ฟ


f


p


ฝั่ง = fang , ฟ้า = fa , เสิร์ฟ = soep




m


m


ม้าม = mam




y


-


ยาย = yai




r


n


ร้อน = ron , พร = phon


ล ฬ


l


n


ลาน = lan , ศาล = san , กีฬา = kila , กาฬ = kan




w


-


วาย = wai


ห ฮ


h


-


หา = ha , ฮา = ha



หมายเหตุ
::


๑. ในทางสัทศาสตร์ ใช้ h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต (เสียงที่กลุ่มลมพุ่งตามออกมาในขณะออกเสียง)
h ที่ประกอบหลัง
k p t จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางสัทศาสตร์ดังนี้





k แทนเสียง ก
เพราะเป็นเสียงสิถิล
(เสียงที่ไม่มีกลุ่มลมพุ่งออกมาในขณะออกเสียง)
kh จึงแทนเสียง
ข ฃ ค ฅ ฆ
เพราะเป็นเสียงธนิต

p
แทนเสียง ป
ซึ่งเป็นเสียงสิถิล
ph จึงแทนเสียง
ผ พ ภ
เพราะเป็นเสียงธนิต
ไม่ใช่แทนเสียง ฟ


t
แทนเสียง ฏ ต
ซึ่งเป็นเสียงสิถิล
th จึงแทนเสียง
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ เพราะเป็นเสียงธนิต


๒. ตามหลักสัทศาสตร์
ควรใช้
c แทนเสียง
จ ซึ่งเป็นเสียงสิถิล และ
ch แทนเสียง ฉ ช ฌ ซึ่งเป็นเสียงธนิต ดังที่ใช้กันในภาษาบาลี-สันสกฤต
เขมร ฮินดี อินโดนีเซีย และภาษาอื่น ๆ
อีกหลายภาษแต่ที่มิได้แก้ไขให้เป็นไปตามหลักสัทศาสตร์ เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้ไข้วเขวกับการสะกดและออกเสียงตัว
c ในภาษาอังกฤษซึ่งคนไทยมักใช้แทนเสียง
ค หรือ ซ ตัวอย่างเช่น จน/จิต
หากเขียนตามหลักสัทศาสตร์เป็น con/cit
ก็อาจจะออกเสียงตัว c เป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ช ในคำว่า cit ดังนั้นจึงยังคงใช้ ch แทนเสียง จ
ตามที่คุ้นเคย
เช่น
จุฬา =
chula , จิตรา = chittra


ตารางเทียบเสียงสระ


http://www.thaibabyname.com/gp/dot2.gif



สระ


อักษรโรมัน


ตัวอย่าง


อะ ,
-
ั (อะ ลดลรูป) , รร (มีตัวสะกด) , อา


a


ปะ = pa
,
วัน = wan
,
สรรพ = sap
,
มา = ma


รร (ไม่มีตัวสะกด)


an


สรรหา = sanha
,
สวรรค์ = sawan


อำ


am


รำ = ram


อิ , อี


i


มิ = mi
,
มีด = mit


อึ , อื


ue


นึก = nuek
,
หรือ = rue


อุ , อู


u


ลุ = lu
,
หรู = ru


เอะ , เ-็ (เอะ ลดรูป) , เอ


e


เละ = le
,
เล็ง = leng
,
เลน = len


แอะ , แอ


ae


และ = lae
,
แสง = saeng


โอะ , - (โอะ ลดรูป) , โอ , เอาะ , ออ


o


โละ = lo
,
ลม = lom
,
โล้ = lo
,
เลาะ = lo
,
ลอม = lom


เออะ , เ- ิ (เออะ ลดรูป) , เออ


oe


เลอะ = loe
,
เหลิง = loeng
,
เธอ = thoe


เอียะ , เอีย


ia


เผียะ = phia
,
เลียน = lian


เอือะ , เอือ


uea


- * , เลือก = lueak


อัวะ , อัว , - ว- (อัว ลดรูป)


ua


ผัวะ = phua
,
มัว = mua
,
รวม = ruam


ใอ , ไอ , อัย , ไอย , อาย


ai


ใย = yai
,
ไล่ = lai
,
วัย = wai
,
ไทย = thai
,
สาย = sai


เอา , อาว


ao


เมา = mao
,
น้าว = nao


อุย


ui


ลุย = lui


โอย , ออย


oi


โรย = roi
,
ลอย = loi


เอย


oei


เลย = loei


เอือย


ueai


เลื้อย = lueai


อวย


uai


มวย = muai


อิว


io


ลิ่ว = lio


เอ็ว , เอว


eo


เร็ว = reo
,
เลว = leo


แอ็ว , แอว


aeo


แผล็ว = phlaeo
,
แมว = maeo


เอียว


iao


เลี้ยว = liao


ฤ (เสียง รึ) , ฤา


rue


ฤษี , ฤาษี = ruesi


ฤ (เสียง ริ)


ri


ฤทธิ์ = rit


ฤ (เสียง เรอ)


roe


ฤกษ์ = roek


, ฦา


lue


- * , ฦาสาย = luesai



หมายเหตุ
::


๑. ตามหลักเดิม อึ อื อุ
อู ใช้
u แทนทั้ง
๔ เสียง
แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง
อึ อื กับ อุ อู จึงใช้
u แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื


๒. ตามหลักเดิม เอือะ เอือ
อัวะ อัว ใช้
ua แทนทั้ง
๔ เสียง แต่เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเสียง เอือะ เอือ กับ อัวะ อัว
จึงใช้
ua แทน
อัวะ อัว และ
uea แทน
เอือะ เอือ เพราะ เอือะ เอือ
เป็นสระประสมซึ่งประกอบด้วยเสียง อึ หรือ อื (ue) กับเสียง อะ หรือ อา (a)


๓. ตามหลักเดิม อิว ใช้ iu และเอียว ใช้ ieu แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มี
ว ลงท้ายและแทนเสียงด้วย
o ซึ่งได้แก่ เอา อาว (ao) ,
เอ็ว เอว (eo) , แอ็ว แอว (aeo) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน
อิว
ซึ่งเป็นเสียง
อิ กับ ว จึงแทนด้วย
i + o คือ io ส่วนเสียง
เอียว ซึ่งมาจากเสียง
เอีย กับ ว จึงแทนด้วย ia + o เป็น iao


ไม่มีคำประสมด้วยสระเสียงนี้ในภาษาไทย




Web Hosting